คลังความรู้ งานบริหาร

รายงานวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนปีงบประมาณ 2552 รอบ 6 เดือน

  • ผลผลิตการให้บริการวิชาการ

จากแผนภาพที่ 4 เปรียบเทียบต้นทุนกิจกรรมงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยโดยมีหน่วยงานย่อยดำเนินการ 9 หน่วยงาน มีผู้เข้ารับบริการ 1,115 คนเป็นเงินทั้งสิ้น 8,666,305.95 บาทจำแนกเป็นต้นทุนโครงการ จำนวน 2,474,400.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 29 และต้นทุนบุคลากรเป็นเงิน6,191,905.95 บาทคิดเป็นร้อยละ 71

แผนภาพที่ 4 เปรียบเทียบต้นทุนผลผลิตงานบริการวิชาการหน่วยงานย่อย

เมื่อพิจารณาต้นทุนกิจกรรมบริการวิชาการตามคณะพบว่า คณะบริหารธุรกิจมีต้นทุนในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการสูงสุด 1,953,309.18 บาท คิดเป็นร้อยละ 23 ของต้นทุนกิจกรรมบริการวิชาการทั้งหมดของมหาวิทยาลัย (แผนภาพที่ 5) มีผู้รับบริการทั้งสิ้น 439 คน มีต้นทุนบุคลากรคิดเป็นร้อยละ 83.30และต้นทุนโครงการคิดเป็นร้อยละ 16.70

แผนภาพที่ 5 เปรียบเทียบร้อยละต้นทุนผลผลิตงานบริการวิชาการ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มีผู้เข้ารับบริการทั้งสิ้น 81 คนเป็นเงิน 92,210.65 บาท เป็นหน่วยงานที่มีต้นทุนต่อหัวผู้รับบริการต่ำสุดคือ 1,138.40 บาท คิดเป็นต้นทุนโครงการร้อยละ 75.91 และต้นทุนบุคลากรร้อยละ 24.09 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีผู้เข้ารับบริการ 55 คน มีต้นทุนกิจกรรมทั้งสิ้น1,327,112.94 บาท เป็นคณะที่มีต้นทุนกิจกรรมต่อหัวผู้เข้ารับบริการสูงที่สุดคือ 24,129.33 บาท คิดเป็นต้นทุนโครงการร้อยละ 18.45 และต้นทุนบุคลากรร้อยละ 81.55

แผนภาพที่ 6 เปรียบเทียบร้อยละของต้นทุนบุคลากรและต้นทุนโครงการของผลผลิตการให้บริการวิชาการ

จากแผนภาพที่ 6 แสดงให้เห็นว่าต้นทุนกิจกรรมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยมากกว่า 70% เป็นต้นทุนบุคลากรและน้อยกว่า 30% เป็นต้นทุนโครงการ ทำให้พิจารณาได้ว่ามหาวิทยาลัยใช้บุคลากรมากเกินความจำเป็นในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการ ซึ่งแต่ละหน่วยงานควรพิจารณาลดบุคลากรในการดำเนินโครงการบริการวิชาการให้สอดคล้องกับปริมาณงานที่แท้จริง

  • ผลผลิตส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

แผนภาพที่ 7 เปรียบเทียบต้นทุนผลผลิตส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของหน่วยงานย่อย

แผนภาพที่ 8 เปรียบเทียบร้อยละของต้นทุนบุคลากรและต้นทุนโครงการของผลผลิตส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนกิจกรรมส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหน่วยงานย่อยของมหาวิทยาลัย มีหน่วยงานที่ดำเนินกิจกรรมดังกล่าวจำนวน 11 หน่วยงาน มีผู้เข้ารับบริการ 4,043 คน เป็นเงินทั้งสิ้น4,595,218.25 บาท จำแนกเป็นต้นทุนโครงการ จำนวน 907,024.40 บาท คิดเป็นร้อยละ 19.74 และต้นทุนบุคลากรเป็นเงิน 3,688,193.85 บาทคิดเป็นร้อยละ 80.26 ดังแผนภาพที่ 8 แสดงให้เห็นว่าต้นทุนกิจกรรมส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยมากกว่า 80% เป็นต้นทุนบุคลากรและน้อยกว่า 20% เป็นต้นทุนโครงการ ทำให้พิจารณาได้ว่ามหาวิทยาลัยใช้บุคลากรมากเกินความจำเป็นในการจัดกิจกรรมส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งแต่ละหน่วยงานควรพิจารณาลดบุคลากรในการดำเนินโครงการส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับปริมาณงานที่แท้จริง

เมื่อพิจารณาต้นทุนกิจกรรมส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมตามคณะพบว่าคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มีต้นทุนในการจัดกิจกรรมสูงสุด 979,988.27 บาท คิดเป็นร้อยละ 21.33 ของต้นทุนกิจกรรมส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมทั้งหมดของมหาวิทยาลัย (แผนภาพที่ 7, 9) โดยจำแนกเป็นต้นทุนโครงการ 42,800 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.37 และต้นทุนบุคลากร 937,188.27 บาทคิดเป็นร้อยละ 95.63 มีผู้เข้ารับบริการทั้งสิ้น 299 คน คิดเป็นต้นทุนต่อหัว 3,277.55 บาท คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และออกแบบ มีผู้เข้าร่วมโครงการ 237 คน มีต้นทุนกิจกรรม 20,332.04 บาท เป็นคณะที่มีต้นทุนกิจกรรมต่อหัวต่ำที่สุด 85.79 บาท โดยที่ไม่มีต้นทุนบุคลากร มีต้นทุนโครงการ 20,332.04 บาท

แผนภาพที่ 9 เปรียบเทียบร้อยละต้นทุนของคณะในการดำเนินงานส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม