Best Practice 2558

การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียนระดับอุดมศึกษา

ชื่อเรื่อง/แนวปฎิบัติที่ดี    การบูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ชุมชน, นักศึกษา และบุคลากร สู่ประชาคมอาเซียน

ชื่อ-นามสกุลผู้นำเสนอ    น.ส.เพชราภรณ์  เพ็ชรแก้ว  และนายสมโภช กุลธารารมณ์

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา      มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

หน่วยงาน                       สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

เบอร์โทรศัพท์                02 282 9009 ต่อ 6764   โทรศัพท์มือถือ  081 702 2578

โทรสาร                            02 282 7919

e-Mail address          petcharaporn.p@rmutp.ac.th

บทสรุปผู้บริหาร

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ริเริ่มจัดโครงการเพิ่มขีดความสามารถให้แก่นักศึกษาและชุมชน ด้วยการพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ที่จำเป็นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศตามหลักมาตรฐานสากล ในปีการศึกษา 2557 ทำให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร  สอบผ่านหลักสูตร CompTIA A+ ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับสากล  จำนวนทั้งสิ้น 269 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 91.18 จากผู้เข้าสอบทั้งสิ้น 295 คน ซึ่งหลักสูตร CompTIA A+ เป็นหลักสูตรสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านไอที  ที่ได้รับการยอมรับจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา  ได้มาตรฐาน ISO และ ANSI  และออกแบบหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญด้านไอที  900,000  คนจากทั่วโลก รวมถึงพัฒนาความรู้การทำเว็ปไซต์ e-Commerce ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปภาษาอังกฤษให้แก่ชุมชนผู้ขายสินค้า มีผู้สนใจเข้าร่วมฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ทั้งสิ้น 14 คน สามารถนำความรู้ไปพัฒนาเว็ปไซต์ขายสินค้าออนไลน์เป็นภาษาอังกฤษ ประชาคมอาเซียนสามารถเข้าถึงเว็ปไซต์ได้ ผู้เข้าร่วมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.52

ประวัติหน่วยงาน

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เริ่มดำเนินการจัดตั้งเป็นโครงการจัดตั้งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์นิวัตร จารุวาระกูล เป็นประธานโครงการจัดตั้งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีสำนักงานชั่วคราว ตั้งอยู่ที่อาคาร 1 ชั้น 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร  เทเวศร์  ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ได้มีกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ให้เป็นสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานหลักในการจัดหา พัฒนา ดูแล รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้กับหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีศูนย์วิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ 4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์โชติเวช ศูนย์พณิชยการพระนคร ศูนย์เทเวศร์ และศูนย์พระนครเหนือ การดำเนินงานของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีภารกิจดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1: (e-Learning) การสร้างโอกาส เพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ยุทธศาสตร์ที่ 2: (e-Management) การเป็นผู้นำในการใช้ ICT เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการให้บริการทางการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 3: (e-Manpower) การผลิตและพัฒนาคุณภาพผู้จบการศึกษาให้มีสมรรถนะทาง ICT เพื่อพัฒนาประเทศ

การดำเนินงานในอดีต

การถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เดิมถูกจำกัดอยู่แต่เฉพาะนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง  กอปรกับความพร้อมและความรู้พื้นฐานของบุคคลภายนอกไม่เท่ากัน ต่อมามหาวิทยาลัยมีหน้าที่ต้องเตรียมความพร้อมให้กับชุมชนต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนตามนโยบายรัฐบาล จึงเริ่มดำเนินการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชนด้วยหลักสูตร e-Commerce ในระยะแรกรับชุมชนบุคคลภายนอกเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 15 คน

สำหรับการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่นักศึกษาตามหลักสูตรสากลระยะสั้นนั้น เดิมไม่เคยมีมาก่อน โดยเมื่อนักศึกษาด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศสำเร็จการศึกษาจะได้รับใบปริญญาบัตรบัณฑิต เพื่อนำไปประกอบการสมัครงาน  แต่เมื่อประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จะเกิดการเคลื่อนย้ายประชากรระหว่างประเทศ จะเกิดการแข่งขันในการประกอบอาชีพ ผู้มีความสามารถมากกว่าจะได้งานที่ดีกว่า การวัดความรู้จากใบปริญญาบัตรอาจ ไม่เพียงพอ การได้รับการรับรองความสามารถจากสมาคมผู้ประกอบการด้าน IT CompTIA A+ certificate  จะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับคัดเลือกเข้าทำงานมากยิ่งขึ้นทั้งในระดับประเทศและในระดับสากล  ซึ่งประกาศนียบัตร CompTIA ถูกพัฒนาขึ้นจากกลุ่มผู้นำบริษัทอุตสากรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ และถูกตรวจสอบโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสาขา IT จากทั่วโลก ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรมีความรู้ และทักษะขั้นพื้นฐานการปฏิบัติงานตามกฎงานด้าน IT เป็นอย่างดี  มีความรู้รอบตัวด้าน IT และมีทักษะการใช้โปรแกรม  ผู้ได้รับการรับรองจาก CompTIA ถูกเตรียมพร้อมในการสนับสนุนงานด้าน IT ของหน่วยงานได้

แนวทางการดำเนินงานตามหลัก (PDCA)

  1. ขั้นวางแผน (Plan)
    • กำหนดกลุ่มเป้าหมายบูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่กลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ดังนี้

(1) ชุมชนกลุ่มผู้ขายสินค้า ด้วยการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับ e-Commerce  ให้แก่ผู้ค้า  โดยการถ่ายทอดความรู้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ  1. บูรณาการความรู้ด้านเทคนิคการฝากขายสินค้าบนเว็ปไซต์อาลีบาบา และเว็ปไซต์ e-bay จากผู้เชี่ยวชาญของบริษัทอาลีบาบา (ประเทศไทย) 2. บูรณาการความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Opencart จากนักวิชาการคอมพิวเตอร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โปรแกรม Opencart  ผู้ใช้สามารถดาวน์โลดได้ไม่เสียค่าใช้จ่ายผ่านทางเว็ปไซต์ http://www.opencart.com/ สะดวกและได้มาตรฐาน เป็นโปรแกรมภาษาอังกฤษ สามารถทำการค้าขายได้ทั่วโลก  เพื่อเตรียมพร้อมสู่การค้าในกลุ่มประชาคมอาเซียน

(2) นักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ ชั้นปี 3  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร การเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่นักศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานสากล  โดยการฝึกอบรมหลักสูตร CompTIA A+ ซึ่งเป็นหลักสูตรเพิ่มทักษะเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์  ระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการใช้งาน  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อนักศึกษาเข้าอบรมครบตามหลักสูตร จะได้รับการทดสอบความรู้ตามมาตรฐาน Comp TIA ซึ่งออกแบบและควบคุมคุณภาพโดยกลุ่มนักวิชาการคอมพิวเตอร์จากทั่วโลก เมื่อนักศึกษาสอบผ่านจะได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งตรงจากประเทศสหรัฐอเมริกา  สามารถนำไปใช้ประกอบการสมัครงานได้ทั่วโลก ได้รับการยอมรับในคุณภาพและความรู้ความสามารถในระดับสากล

(3) บุคลากรกลุ่มผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้ปฎิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ตามมาตรฐานสากล โดยบุคลากรจะได้รับการฝึกอบรมในหลักสูตร CompTIA A+ เป็นหลักสูตรคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน, หลักสูตร CompTIA Network+ เป็นหลักสูตรสำหรับผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์,  หลักสูตร CompTIA Security+ เป็นหลักสูตรสำหรับผู้ดูแลความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย   และหลักสูตร CompTIA CTT+ เป็นหลักสูตรสำหรับฝึกให้เป็นครูผู้สอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดี มีคุณภาพ  เมื่อฝึกอบรมครบตามหลักสูตรแล้ว ผู้เข้าอบรมต้องเข้ารับการทดสอบความรู้ความสามารถตามเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตรนั้น ๆ โดยข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษส่งตรงจากต่างประเทศแบบออนไลน์  เมื่อสอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความสามารถจากประเทศสหรัฐอเมริกา  สามารถนำไปใช้ประกอบการสมัครงานได้ทั่วโลก ได้รับการยอมรับในคุณภาพและความรู้ความสามารถในระดับสากล

1.2 ประชุมคณะทำงาน

1.3 มอบหมายงาน แบ่งงานออกเป็น 4 ประเภท คือ

1.3.1 ประเภทงานวิชาการ  ปฏิบัติหน้าที่วางแผนหลักสูตร และวางแผนการดำเนินงาน
1.3.2 ประเภทงานอาคารสถานที่ ปฏิบัติหน้าที่วางแผนปรับปรุงห้องเรียน และวางแผนปรับปรุงห้องสอบ
1.3.3 งานอาหารและเครื่องดื่ม ปฏิบัติหน้าที่วางแผนอาหารและเครื่องดื่ม วางแผนห้องจัดเลี้ยงและสถานที่จัดอาหารว่าง
1.3.4 งานประสานงาน ปฏิบัติหน้าที่วางแผนประชาสัมพันธ์ และประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง

1.4 วิเคราะห์ความเสี่ยง เพื่อป้องกันสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น และอาจทำให้โครงการไม่บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด ดังนี้

1.4.1 ชุมชนลงสมัครเรียน แล้วไม่เข้าเรียน
1.4.2 นักศึกษาไม่ทราบว่าต้องเข้ารับการอบรม
1.4.3 นักศึกษาไม่เข้าอบรม
1.4.4 นักศึกษาเข้าอบรมไม่ครบตามจำนวน
1.4.5 เกิดเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองในบริเวณที่จัดการอบรม
1.4.6 ห้องสอบเสร็จไม่ทันตามกำหนด
1.4.7 ศูนย์สอบเปิดไม่ได้ตามแผน
1.4.8 วิทยากรไม่ว่างตามวันที่กำหนด
1.4.9 นักศึกษาไม่เข้าสอบ
1.4.10 นักศึกษาสอบตกมาก
1.4.11 ร้านไม่รับจัดอาหารเนื่องจากมีจำนวนน้อย

 2. ขั้นปฏิบัติตามแผน (Do)

(1) ชุมชนกลุ่มผู้ขายสินค้า  การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเว็ปไซต์ e-Commerce และการขายสินค้าออนไลน์ ดำเนินงานดังนี้

  • เขียนรายละเอียดหลักสูตรฝึกอบรมให้ตรงตามความต้องการของผู้เข้าอบรม
  • กำหนดวันฝึกอบรม
  • ติดต่อวิทยากรเป้าหมายผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอก มหาวิทยาลัย
  • จัดห้องอบรมให้เพียงพอต่อ
  • ประกาศรับสมัครผู้สนใจเข้ารับการอบรมผ่านทางเว็ปไซต์มหาวิทยาลัย และเว็ปไซต์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร และแจ้งยืนยันการเข้าเรียน
  • เตรียมเอกสารประกอบการเรียน
  • ขออนุมัติโครงการ
  • ติดต่อร้านค้าจัดอาหารและเครื่องดื่ม เนื่องจากจำนวนคนน้อยกว่า 50 คน ร้านค้าไม่จัดอาหารต้องซื้อเอง ดังนั้น ต้องจัดบุคลากรจัดหาอาหารและเครื่องดื่ม
  • ดำเนินการฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้ เรื่องการสร้างเว็ปไซต์ e-Commerce ด้วยโปรแกรมฟรี ระยะเวลา 3  วัน และถ่ายทอดความรู้ เรื่องการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ระยะเวลา 2 วัน จากเว็ปไซต์ชื่อดัง e-bay.com และเว็ปไซต์ com  การวิเคราะห์สินค้าที่เป็นที่นิยมในตลาด  เทคนิคการวางขายสินค้าให้น่าสนใจ เป็นต้น

(2) นักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3 การถ่ายทอดความรู้เพื่อการสอบรับรองความสามารถในระดับสากล มีการปฏิบัติตามแผน ดังนี้

งานวิชาการ

  • จัดทำหลักสูตร เขียนโครงการ คำนวณค่าใช้จ่ายโครงการ ขออนุมติโครงการ
  • ศึกษากลุ่มเป้าหมาย ด้านพฤติกรรมการเข้าเรียน ความพร้อมในการเรียน และความรู้พื้นฐานเดิมของนักศึกษา
  • คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย จำนวนนักศึกษา 327 คน แบ่งเป็นนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ชั้นปี 3 จำนวน 61 คน นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จำนวน 89 คน นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาระบบสารสนเทศ จำนวน 101 คน นักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 44 คน และนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย จำนวน 32 คน
  • จัดห้องเรียน เตรียมห้องเรียนห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ พร้อมอุปกรณ์เครือข่าย ให้สามารถติดต่อสื่อสารบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้รวดเร็ว และมีคุณภาพตลอดการเรียน และจัดสถานที่เรียนคำนึงถึงความสะดวกผู้เข้าเรียนเป็นสำคัญ โดยจัดฝึกอบรมกำหนดใช้สถานที่ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง 3 ศูนย์ ดังนี้
    • ศูนย์พระนครเหนือ 2 ห้องเรียน 4 รุ่น สำหรับนักศึกษาสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และสาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
    • ศูนย์พณิชยการพระนคร 2 ห้อง 2 รุ่น สำหรับนักศึกษาระบบสารสนเทศ
    • ศูนย์เทเวศร์ 1 ห้อง 4 รุ่น สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
  • จัดตารางเรียน แบ่งออกเป็น 4 รุ่น
    • รุ่นที่ 1 สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, สาขาระบบสารสนเทศ, สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

(คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม) และสาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

  • รุ่นที่ 2 สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม) และสาขาระบบสารสนเทศ
  • รุ่นที่ 3 สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์, สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย และสาขาระบบสารสนเทศ
  • รุ่นที่ 4 สาขาระบบสารสนเทศ และสาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
  • จัดวิทยากร ติดต่อวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญในวิชาที่สอน ประกอบด้วยวิทยากรภายนอก 4 คน และวิทยากรภายใน 8 คน นักศึกษาห้องละประมาณ 30 คน มีวิทยากรประจำ 2 คน เรียนพร้อมกัน 3 ศูนย์ 5 ห้องเรียน ต้องการวิทยากรผู้เชี่ยวชาญผ่านการรับรองจากต่างประเทศ 10 คนพร้อมกัน โดยต้องประสานงานติดต่อวิทยากรล่วงหน้า และจัดลำดับ วันเวลาของวิทยากรที่ว่างให้ตรงกับตารางเรียน
  • จัดตารางสอบ หลังจากเรียนครบตามหลักสูตร 8 วันแล้วนักศึกษาจะต้องสอบ 2 วิชาคือ CompTIA A+ Essential 220-801 และ Essential 220-802 นักศึกษาต้องสอบให้ผ่านทั้ง 2 วิชา จึงจะได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจากต่างประเทศ  ในการจัดตารางสอบต้องให้พอดีกับห้องสอบที่สามารถสอบพร้อมกันได้สูงสุด 15 คน ลดการรอคอย และเข้าสอบได้ครบทุกคน (327 คน) ภายในกรอบเวลาที่กำหนด  โดย 1 วิชาใช้เวลาสอบ 1.30 ชั่วโมง ติวเข้มก่อนสอบ 2 ชั่วโมง ใน 1 วันสอบได้ 30 คน แบ่งเป็นสอบภาคเช้า 15 คน ภาคบ่าย 15 คน นักศึกษา 1 คนสอบได้ วันละ 1 วิชา เพราะข้อสอบค่อนข้างยากเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าสอบวันละ 2 วิชาอัตราการสอบผ่านของนักศึกษาจะลดลง
  • จัดสอบ ต้องดำเนินการให้เสร็จภายในเวลา 3 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่นักศึกษาลงทะเบียนการมาถึงศูนย์สอบ ตรวจเอกสารการสอบ (บัตรประชาชนภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ) ให้ตรงกับรายชื่อนักศึกษาที่มาเรียน ลงทะเบียนสอบผ่านระบบออนไลน์กับต่างประเทศทีละคน  ให้นักศึกษาเตรียมตัวทบทวนครั้งสุดท้ายก่อนเข้าห้องสอบ  ถ่ายรูป เซนต์ชื่อ ลงเวลาสอบ จึงนำนักศึกษาเข้าห้องสอบทีละคน ใช้เวลาสอบ 1.30 ชั่วโมง  หลังจากนักศึกษาสอบเสร็จ ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่คุมสอบเพื่อบันทึกเวลาสอบเสร็จ นักศึกษาสอบเสร็จจะทราบผลคะแนนทันที จึงกลับได้ และมาสอบวิชาที่ 2 ในวันที่กำหนด

งานอาคารสถานที่

เพื่อให้สถานที่เรียน และสถานที่สอบเสร็จทันตามแผนโครงการ จำเป็นต้องดำเนินการดังนี้

  • ปรับปรุงห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 ห้อง ณ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองเทเวศร์ 1 ห้อง, ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองพณิชยการพระนคร 2 ห้อง และศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองพระนครเหนือ 2 ห้อง เตรียมเครื่อง Projector, เครื่องคอมพิวเตอร์, ไมโครโฟน และเครื่องเสียง
  • ปรับปรุงห้องสอบ โดยต้องศึกษารูปแบบห้องสอบมาตรฐานสากล, ทำป้ายประกาศห้องสอบ, ติดตั้งโต๊ะเก้าอี้สอบให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน, ติดตั้งระบบเครือข่าย กล้องวงจรปิด, ติดต่อประสานงานกับต่างประเทศเพื่อขอเปิดศูนย์สอบ, ติดตั้งโปรแกรมควบคุมการสอบ, ติดตั้งโปรแกรมการสอบ, ทดสอบระบบการสอบ และฝึกสอนผู้ควบคุมการสอบ
  • จัดเตรียมสถานที่จัดอาหารและเครื่องดื่ม ประสานขอยืมห้องเพื่อจัดอาหาร ขอยืมโต๊ะเก้าอี้ ให้เพียงพอสำหรับนักศึกษาผู้เข้าอบรม

 งานอาหารเครื่องดื่ม

ติดต่อร้านค้าให้จัดอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรม แต่เนื่องจากบางพื้นที่จำนวนผู้เข้าอบรมต่ำกว่า 50 คนร้านค้าไม่รับจัดอาหารสถานที่ฝึกอบรม  จึงสั่งร้านให้นำอาหารกล่องมาส่ง แต่เนื่องจากอยู่ระหว่างปิดภาคเรียน ร้านค้าภายในศูนย์ปิดทำการ ต้องหาร้านอาหารจากภายนอกมักไม่นิยมส่งอาหาร แม้ส่งแต่ราคาสูงกว่างบประมาณที่ตั้งไว้  ดังนั้นต้องเตรียมคนจัดซื้ออาหารกลางวันและอาหารว่าง 3 ศูนย์ 5 ห้องเรียน สำหรับนักศึกษาและกรรมการรวมทั้งสิ้น 180 คนระยะเวลา 8 วัน

จัดทำเอกสารเบิกจ่ายค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง

งานประสานงาน

ติดต่อประสานงานกับคณะ  ติดต่อประสานงานกับนักศึกษา  ติดต่อผู้จัดอาหาร  และจัดทำเอกสารประกอบการเรียน

 3. ขั้นตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน (Check)

กำกับติดตามการเรียนการสอน ด้วยการตรวจเยี่ยมชมศูนย์การเรียนระหว่างทำการเรียนการสอนและตรวจเยี่ยมการจัดอาหารกลางวันและอาหารว่างให้เพียงพอ  ตรวจเยี่ยมศูนย์สอบห้องสอบระหว่างจัดการสอบ  กำกับติดตามการสอบให้เป็นไปตามแผน  ประเมินผลการเรียนการสอน ให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ  ประเมินผลการสอบกำกับติดตามให้นักศึกษาเข้าสอบให้ครบภายในเวลาที่กำหนด  โดยเกณฑ์การสอบผ่านของนักศึกษาต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของผู้เข้าสอบ  จัดทำเล่มรายงานผลการดำเนินงานเมื่อการฝึกอบรมแล้วเสร็จ  เร่งรัดติดตามใบประกาศนียบัตรจากต่างประเทศ

ผลการดำเนินงาน

  • ชุมชนกลุ่มผู้ขายสินค้า สำหรับหลักสูตร e-Commerce สำหรับชุมชน พิจารณาเป็นรายด้าน ดังนี้

ด้านจำนวนผู้เข้า  รับการถ่ายทอดความรู้ 14 คน แบ่งเป็นชาย 5 คน และหญิง 9 คน

ด้านความพึงพอใจ  ผู้เข้ารับการถ่ายทอดความรู้ มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.52 คิดเป็นร้อยละ 90.32  หลังจากเรียนรู้ผู้เข้าร่วมร่วมมีความรู้ ความเข้าใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.54 คิดเป็นร้อยละ 90.79 จากการสำรวจความพึงพอใจในด้านประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.52 คิดเป็นร้อยละ 90.32 ผู้เข้ารับการถ่ายทอดความรู้สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอาเซียนได้

  • นักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ สำหรับหลักสูตร CompTIA A+ ของนักศึกษา พิจารณาเป็นรายด้าน ดังนี้

ด้านจำนวนผู้เข้าอบรม พบว่า มีนักศึกษาเข้าอบรมทั้งสิ้น 327 คนมากกว่าแผนที่ตั้งไว้ 320 คน โดยแยกเป็นชาย 250 คน คิดเป็นร้อยละ 77.88  และหญิง 71 คน คิดเป็นร้อยละ 22.12

ด้านผลการสอบ พบว่า มีนักศึกษาเข้าสอบทั้งสิ้น  295  คน สอบผ่าน  269 คน คิดเป็นร้อยละ 82.26  สอบไม่ผ่าน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 17.74  ไม่มาสอบ 32 คน คิดเป็นร้อยละ 90.21 ของผู้มีสิทธิ์สอบทั้งสิ้น 327 คน สาเหตุที่นักศึกษาไม่เข้าสอบ เนื่องมาจาก 1) ต้องกลับไปทำงานต่างจังหวัด ไม่สามารถหยุดงานหลายวันเพื่อมาสอบได้  2) ต้องกลับบ้านต่างจังหวัด ไม่สะดวกที่จะเดินมาสอบที่กรุงเทพฯ  3) ติดฝึกงานสหกิจ ไม่สามารถลาหยุดได้

ด้านความพึงพอใจ ในการอบรมหลักสูตร CompTIA A+ ของนักศึกษา ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.46 คิดเป็นร้อยละ 89.93 จากผู้ตอบแบบสอบถาม 321 คน  โดยผลการประเมินแต่ละด้าน เป็นดังนี้

     ด้านวิทยากร มีค่าอยู่ในระดับ มาก  มีค่าเฉลี่ย 4.50  หรือคิดเป็นร้อยละ 89.97

     ด้านความรู้ความเข้าใจ  ผู้เข้าอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.00 หรือคิดเป็นร้อยละ 80.00

     ด้านการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.47 คิดเป็นร้อยละ 89.41

     ด้านประสิทธิภาพ  อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.49 หรือคิดเป็นร้อยละ 89.93

 4ปรับปรุงแก้ไข (Act)

  • กรณีวิทยากรไม่ว่างตามแผน แก้ไขโดยต้องประสานงานกับวิทยากรล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1-2 เดือน
  • จัดประชุมหัวหน้าสาขาเพื่อแจ้งนักศึกษาทราบล่วงหน้า  ประชาสัมพันธ์ทางเว็ปไซต์หน้าหลักของมหาวิทยาลัย
  • ระหว่างฝึกอบรมเกิดเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง  ต้องเปลี่ยนสถานที่ฝึกอบรมเพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าอบรม  โดยแจ้งผ่านวิทยากรบอกผู้เข้าอบรม และประกาศผ่านทางเว็ปไซต์เปลี่ยนสถานที่       ฝึกอบรม และโทรศัพท์ติดต่อนักศึกษาให้บอกต่อ
  • กรณีเปิดศูนย์สอบไม่ทันตามแผนเนื่องจากต่างประเทศไม่พร้อม ต้องแจ้งนักศึกษา และเปลี่ยนแผนการสอบใหม่ พร้อมกับแจ้งนักศึกษาทราบล่วงหน้าผ่านทางเว็ปไซต์  กรณีนักศึกษามาสอบตามวันที่     กำหนดไม่ได้ต้องจัดตารางสอบให้ใหม่เฉพาะบุคคล  กรณีนักศึกษาไม่มีรายชื่อเข้าสอบและมาขอสอบ ต้องตรวจสอบว่านักศึกษาเข้าเรียนจริงหรือไม่  โดยตรวจสอบจากระบบลงทะเบียนอบรม       ออนไลน์ที่ให้นักศึกษาบันทึกข้อมูลระหว่างเรียน และตรวจสอบจากระบบประเมินผลการเรียนที่ประเมินระหว่างเรียน
  • เมื่อฝึกอบรมแล้วเสร็จแล้วพบว่านักศึกษาเข้าอบรมไม่ครบจำนวนตามแผน  ต้องดำเนินการประสานงานกับคณะให้ส่งนักศึกษาในสาขาคอมพิวเตอร์ที่ไม่เคยอบรม  เข้ารับการอบรมเพิ่มเติมให้เต็ม             จำนวนตามแผน และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา ด้วยเงินงบประมาณที่เหลืออยู่
  • กรณีนักศึกษาไม่พร้อมเข้าสอบตามวันที่กำหนดเนื่องจากเตรียมตัวไม่พร้อม หรือไม่มั่นใจ จะเปิดติวเข้มให้นักศึกษาทบทวนจนกว่าจะมั่นใจ และให้เข้าสอบได้ตามแผน
    การสอบ การเตรียมนักศึกษาลงทะเบียนกับต่างประเทศ  กอปรกับนักศึกษาเข้าสอบพร้อมกัน 15 คน มีขั้นตอนการตรวจสอบและลงทะเบียนหลายขั้นตอน  หากเกิดการผิดพลาดจะทำให้เสียค่าสอบฟรี   ค่าสอบมีราคาแพง จำเป็นต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบ ขณะเดียวกันก็ต้องให้รวดเร็วตามเวลา มิฉะนั้น จะทำให้การสอบต้องเลื่อนออกไป และกระทบกับแผนการสอบของนักศึกษาทั้งหมด จัดทำคู่มือ   การสอบและขั้นตอนการสอบ ปรับปรุงขั้นตอนการสอบให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อลดการรอคอย

 ผลกระทบที่เป็นประโยชน์หรือสร้างคุณค่า

          ผลสัมฤทธิ์นักศึกษาหรือผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้ ใบประกาศนียบัตรที่ได้รับการยอมรับระดับสากล สามารถนำไปประกอบการสมัครงานได้ทั่วโลกอย่างมั่นใจ  เพิ่มคุณค่าให้ตนเอง  ชุมชนผู้เข้าอบรมหลักสูตร e-Commerce นำความรู้ไปสร้างเว็ปไซต์ขายสินค้าออนไลน์เป็นภาษาอังกฤษได้  ชุมชนสามารถเปิดตลาดขายสินค้าสู่ประชาคมอาเซียนและทั่วโลกได้  ชุมชนมีความพึงพอใจต่อการเข้ารับการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.52

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

การวางแผนที่ดี ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกับคณะ  วิทยากรที่มีความรู้ประสบการณ์จริง สอนนักศึกษาให้ปฏิบัติได้จริง  ความร่วมมือจากบุคลากรทุกคนในหน่วยงาน  หลักสูตรตรงตามความต้องการของชุมชน การได้รับงบประมาณสนับสนุนที่เพียงพอ และสมเหตุผล

 ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไข

ในบางศูนย์สถานที่จัดอาหารสำหรับผู้เข้ารับการถ่ายทอดความรู้ไม่มี หรืออยู่ห่างไกลจากห้องถ่ายทอดความรู้ ทำให้ไม่สะดวก